International School VS. หลักสูตรไทย

คงจะเป็นประเด็นใหญ่ๆในการตัดสินใจของผู้ปกครองหลายๆท่านในการส่งลูกเรียนในหลักสูตรที่ต่างๆกัน ถ้าตัดปัจจัยเรื่องค่าใช้จ่ายออกไป คุณอยากให้ลูกๆของคุณเข้ารับการศึกษาในระบบไหนดี?

การศึกษาในสมัยนี้ล้วนมีความสำคัญในอนาคตสำหรับการสมัครงาน เพราะมันคือกุญแจที่จะนำพาไปสู่โอกาสดีๆในอนาคต หากตนได้เข้าไปเรียนในโรงเรียนชื่อดัง และมีคุณภาพมากกว่าโรงเรียนทั่วไป

แล้วหลักสูตรไทยทั่วไป กับ หลักสูตรอินเตอร์นั้นต่างกันอย่างไร วันนี้ผมมีคำตอบให้ครับ

หลักสูตรไทยทั่วไปนั้น จะมีรูปแบบที่ถูกออกแบบโดยกระทรวงศึกษาฯ ให้เรียนเป็นสายคร่าวๆคือ ศิลป์ และ วิทย์ ซึ่งเด็กนักเรียนทุกคนต้องเจอวิชาสุดโหดอย่าง ฟิสิกส์ ชีวะ และ เคมี หลักสูตรไทยนั้นจะเน้นไปทางคำนวน ฝึกทักษะเน้นไปทาง Theory สะส่วนใหญ่ ฉะนั้นโจทย์ที่น้องๆต้องทำจะออกไปทางทฤษฏีสุดโหด หลายๆคนที่เรียนวิชาเหล่านี้ต่างถามคำถามเดียวกันว่า เรียนหนักขนาดนี้ไปแล้วชีวิตจริงมันได้อะไร? เพราะเราเข้าใจปัญหาของน้องๆที่ต้องเตรียมสอบหลายๆวิชา ทำให้เรียนแค่ที่โรงเรียนนั้น อาจไม่เพียงพอ เพราะการเรียนในห้องเรียนที่มีคนเยอะๆนั้น ย่อมแตกต่างจากการเรียนเดี่ยวอยู่แล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่เด็กไทยเรียนรู้ได้ช้าคือ เด็กไทยทั่วไปนั้น เกรงใจเพื่อนๆและครู ที่จะต้องขัดจังหวะขณะสอน หรือเด็กๆนั้นกลัวว่าถ้าถามไปแล้วจะดูโง่มั้ย? จะเป็นตัวตลกมั้ย? ดังนั้นการกลัวที่ตัวเองจะอับอายนั้นเป็นตัวปิดโอกาสไม่ให้เด็กๆไฝ่ความรู้มากขึ้น พวกเราทีมงานติวเตอร์ต่างล้วนประสบปัญหานี้กันทั้งนั้น จึงทำให้เราเข้าใจ และหาวิธีแก้ไขปัญหานี้มาให้กับน้องๆครับ

ส่วนหลักสูตรอินเตอร์ หรือ ที่เรียกกันว่าหลักสูตรนานาชาตินั้น จะแตกต่างกับหลักสูตรไทยโดยสิ้นเชิง จากการสำรวจของทีมงาน ได้ข้อสรุปว่า สภาพแวดล้อม หรือ environment นั้นส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นอย่างมาก หลักสูตรนานาชาตินั้นมีต้นกำเนิดมาจากฝั่งตะวันตก ดังนั้นตัวหลักสูตรเลยปฏิบัติตามประเพณีของชาวตะวันตก นั่นก็คือ Interactive Learning สิ่งที่น่าสนใจในวิธีการเรียนนี้นั่นก็คือการที่เด็กนักเรียนได้ฝึกฝนทักษะแบบ Practical มากกว่าการเน้นทำโจทย์ปัญหา วิธีนี้สามารถพัฒนาเด็กนักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น และยังกล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น จึงทำให้หลักสูตรอินเตอร์นั้นแปลกใหม่และน่าสนใจมากๆ โรง้รียนอินเตอร์นั้นได้ถูกเปิดตัวเป็นโรงเรียนเอกขน Private School และได้รับความนิยมตั้งแต่ปลายปี 90 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน หลักสูตรอินเตอร์นั้น จะโฟกัสไปทางระบบ Child-Center นั่นก็คือการให้นักเรียนนั้นมีอิสระในการเลือกวิชาที่ต้องการเรียนเมื่ออยู่ในชั้นมัธยมปลาย ภาควิชาพื้นฐานอาทิเช่น Maths English Science Social Studies นั้นเป็นสิ่งจำเป็นและข้อบังคับอยู่แล้ว ถึงแม้ว่าการที่เรียนโรงเรียนหลักสูตรนานาชาตินั้นจะเป็นที่น่าสนใจ แต่ก็ยังมีข้อเสียอยู่นะครับ เพราะว่าหลักสูตรนานาชาตินั้นเน้นภาษาอังกฤษเป็นหลัก จึงทำให้นักเรียนคนไทยแทบจะไม่มีโอกาสที่จะได้ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันเลย จึงอาจจะทำให้การอ่าน และ เขียนนั้น ต่ำกว่ามาตรฐาน อีกหนึ่งปัจจัยก็คือค่าเทอมและค่าเล่าเรียนที่แพงมหาศาลของหลักสูตรอินเตอร์นั้นสามารถทำให้หลายๆคนได้รับโอกาสน้อยลงในอนาคตนะครับ

อีกหนึ่งทางเลือกที่สมดุลก็คือการศึกษาในระบบ สองภาษา หรือ Bilingual จะสามารถพัฒนาเด็กนักเรียนได้ทั้งสองภาษา ถือเป็นหลักสูตรที่น่าสนใจเลยทีเดียวนะครับ

ทั้งนั้นทั้งนี้แล้วการเปรียบเทียบระหว่างสองหลักสูตรนั้น เป็นเพียงมุมมองของผู้คนหลายๆคน หวังว่าบทความนี้จะให้ข้อมูลน้องๆและผู้ปกครองหลายๆท่านในการตัดสินใจส่งลูกเข้าเรียนในหลักสูตรนั้นๆได้นะครับ

จากใจ ทีมงาน Chulatutorfornong